ระยอง-เสม็ด:รวมกิจกรรม กีฬา งานบุญ งานอาสา ที่พัก ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจ ในระยองและทั่วไทย

รวมข่าวประชาสัมพันธ์ นักวิทยุสมัครเล่นฯ
สนับสนุนโดย

=> Amateur Radio สระบุรี => ข้อความที่เริ่มโดย: E20ZSY ที่ มีนาคม 14, 2011, 05:46:14 pm



หัวข้อ: กฎ กติกา และมารยาทของนักวิทยุสมัครเล่นที่ดี
เริ่มหัวข้อโดย: E20ZSY ที่ มีนาคม 14, 2011, 05:46:14 pm
**กฏ  กติกา  และมารยาทของนักวิทยุสมัครเล่นที่ดี**

   1.  ก่อนเรียกขานควรเตรียมหาความถี่หรือช่องที่ว่างสำหรับจะใช้ติดต่อสื่อสาร

   โดยการฟังสักครู่หนึ่งก่อนและสอบถามว่ามีผู้ใช้ความถี่อยู่หรือไม่  ถ้าไม่แน่ใจลองสอบถามซ้ำ

   ในการนี้ควรปรับปรุง SQUELCH ให้ต่ำที่สุดจนมีเสียงซู่ออกมาทางลำโพงเพื่อให้เครื่องรับวิทยุพร้อมจะรับสัญญาณอ่อน ๆ ได้
   
   2.  เมื่อหาความถี่หรือช่องที่ว่างได้แล้วจึงย้ายไปฟังความถี่เรียกขาน ( Calling frequency )  หรือช่องเรียกขาน

   ( Calling channel ) สักครู่  เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ใช้อยู่แล้วจึงค่อยเรียกขาน

 
   3. รูปแบบทั่วไปของการเรียกขานแบบเจาะจงสถานี แจ้งสัญญาณ เรียกขานของสถานี ที่ต้องการติดต่อด้วยขึ้นต้นก่อนหนึ่งหรือสองครั้ง

   ตามด้วยคำว่า  “จาก”  แล้วตามด้วยสัญญาณเรียกขานของผู้เรียก  ไม่ควรเรียกขานเกิน  3  ครั้งติดต่อกัน

 
   4. รูปแบบทั่วไปของการเรียกขานไม่เจาะจงสถานีด้วย  CQ  ส่งตำว่า  CQ  3  ครั้ง  ตามด้วยคำว่า “จาก”  หรือ  “นี่คือ”

   แล้วตามด้วยสัญญาณเรียกขานของท่านไม่เกิน  3  ครั้ง  และในแต่ละคราวไม่ควรรียกขานเกิน  3  ครั้งติดต่อกัน

 
   5.  ในการเรียกขานแต่ละครั้ง  ควรเว้นช่วงไว้ประมาณ  2  ถึง  3  วินาที  เพื่อเปิดโอกาสให้สถานีที่ถูกเรียกสามารถตอบรับได้
 
   6.  ในกรณีที่เรียกขานครบ  3  ครั้งแล้วไม่ได้รับคำตอบ  ควรบอกเลิกใช้ความถี่ด้วยคำว่า “CLEAR”
    แล้วทิ้งช่วงไว้ระยะหนึ่งเพื่อเปิดโอกาสให้สถานีอื่นได้เรียกขานบ้าง

 
   7.  เมื่อติดต่อกันได้แล้วที่ช่องเรียกขานหรือความถี่เรียกขานให้รีบเปลี่ยนไป ใช้ช่องความถี่ที่ว่างซึ่งหาไว้แล้วเพื่อให้สถานีอื่นมีโอกาสใช้ช่องเรียก ขาน
     หรือความถี่เรียกขานได้ห้ามติดต่อสนทนากันในช่องเรียกขานหรือความถี่เรียกขาน
 
   8.  ควรแจ้งสัญญาณเรียกขานเมื่อเริ่มต้นและสิ้นสุดการติดต่อทางวิทยุ  และในระหว่างการติดต่อควรแจ้งบ่อยครั้งเท่าที่เหมาะสม

     แต่ไม่ควรน้อยกว่าหนึ่งครั้งทุก  10  นาที
 
   9.  ควรใช้การอ่านออกเสียงตัวอักษร  (ITU PHONETIC ALPHABET)

   ต่อเมื่อมีความจำเป็นต้องสะกดคำหรือสัญญาณเรียกขานทีละตัว  เพื่อไม่ให้สับสน  หรือเพื่อให้สะกดตามได้ถูกต้อง

   เมื่อมัสัญญาณรบกวนสูง  หรือสัญญาณไม่ชัดเจน โดยทั่วไปจะใช้อ่านออกเสียงสัญญาณเรียกขานของตน

   เมื่อเริ่มต้นติดต่อเพื่อให้คู่สถานีสามารถบันทึกสัญญาณได้ถูกต้อง

 
   10.  เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เข้าใจได้ง่าย  และไม่ต้องทวนซ้ำข้อความบ่อย ๆ ควรปฏิบัติดังนี้

 
                   *  ใช้ภาษาธรรมดา (plain language) ให้มากที่สุด  ใช้ประมวลสัญญาณ  Q   ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นพยายามหลีกเลี่ยงศัพท์แสลงเฉพาะกลุ่มและคำ ย่อต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบวิทยุโทรเลข
                   *  พยายามหลีกเลี่ยงข้อความกำกวม  เช่น  หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “เรา”  เมื่อหมายถึง  “ผม”  หรือ  “ดิฉัน”
                   *  พูดให้ชัดถ้อยชัดคำ  กระชับ  และไม่เร็วเกินไปนักเพื่อให้คู่สถานีรับฟังชัดเจน

 
   11. พยายามไม่ให้เสียงรบกวนจากสถานี  และเสียงดนตรีแทรกออกไปขณะติดต่อทางวิทยุ
 
   12.  ควรทิ้งช่วงไว้  1  ถึง  2  วินาทีทุกครั้งที่มีการผลัดกันส่ง(พูด) เพื่อเปิดโอกาสให้สถานีอื่นสามารถติดต่อแทรกเข้ามาได้เมื่อมีความจำเป็น
 
   13.  เมื่อต้องการเข้าร่วมสนทนาหรือขอขัดจังหวะขณะที่มีผู้ใช้ความถี่อยู่  ควรหาจังหวะที่คู่สถานีนั้นหมดข้อความที่สืบเนื่องก่อนแล้ว

     จึงค่อยขออนุญาติแทรกเข้าไป  และควรแทรกเข้าไปให้ใช้เวลาน้อยที่สุด  เพื่อผู้ใช้ความถี่เดิมจะได้สนทนากันต่อ
 
   14.  พยายามใช้ความถี่ให้สั้นที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อเปิดโอกาสให้สถานีอื่นมาใช้ความถี่นี้ได้


หัวข้อ: Re: กฎ กติกา และมารยาทของนักวิทยุสมัครเล่นที่ดี
เริ่มหัวข้อโดย: E20ZSY ที่ มิถุนายน 13, 2011, 07:45:37 am
ปฎิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของกิจการวิทยุสมัครเล่น