ระยอง-เสม็ด:รวมกิจกรรม กีฬา งานบุญ งานอาสา ที่พัก ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจ ในระยองและทั่วไทย

รวมข่าวประชาสัมพันธ์ นักวิทยุสมัครเล่นฯ
สนับสนุนโดย

=> HS2AR ระยอง สมาคมวิทยุสื่อสารสมัครเล่นจังหวัดระยอง => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ ธันวาคม 28, 2012, 09:28:20 am



หัวข้อ: กำหนดอบรมและสอบ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556-จังหวัดระยอง (HS2AR)
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ ธันวาคม 28, 2012, 09:28:20 am
สมาคมวิทยุสื่อสารสมัครเล่นจังหวัดระยอง (HS2AR)
เปิดขายใบสมัครบุคคลทั่วไปเข้ารับการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

กำหนดอบรมและสอบ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556
สถานที่สอบ โรงเรียนตากสินระยอง อ.เมือง จ.ระยอง
สนใจติดต่อขอซื้อใบสมัครได้ที่ สมาคมวิทยุสื่อสารสมัครเล่นจังหวัดระยอง (HS2AR)
3/11 ม.3 (วัดน้ำคอกเก่า) ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง 21000
โทรศัพท์ 038-991599
ช่องความถี่ 145.6375 MHz. (-DUP), 144.700 MHz.
E-mail : webmaster_hs2ar(แอท)yahoo.co.th
นายกสมาคมฯ HS2XLB 081-8358253, 080-2708634
E27ADV 081-7776441

ที่มา http://hs2ar.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=601


หัวข้อ: Re: กำหนดอบรมและสอบ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556-จังหวัดระยอง (HS2AR)
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2013, 08:08:46 pm
ท่านใดสอ อ่านนะจ๊ะ!! แบบทดสอบ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น  !! (copy มาจากห้อง HamClub Diamond Rayongค่ะ)
*** วิชาที่1 ความรู้ทั่วไป กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ
1. สัญญาณเรียกขานสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดสมุทรปราการ คือ
ตอบ HS1...,HS0...,E21...,E20...,E22....
2. คำว่า กสทช. ย่อมาจากอะไร
ตอบ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
3. INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION UNION ( ITU ) คือ
ตอบ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
4. สัญญาณเรียกขาน ( CALL SIGN ) กำหนดขึ้นเพื่อ
ตอบ เป็นชื่อเรียกขานของสถานีวิทยุ และ เป็นชื่อเรียกขานประจำตัวพนักงานวิทยุ
5. ประเทศไทยใช้สัญญาณเรียกขานระหว่างประเทศดังนี้
ตอบ HSA-HSZ และ E2A-E2Z
6. ประเทศไทยแบ่งนามเรียกขานเป็นกี่เขต
ตอบ 9 เขต
7. คำว่า " คลื่นแฮรตเชี่ยน " ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พศ. 2498 หมายความว่า
ตอบ 10 กิโลไซเกิลต่อวินาที และ 3,000,000 เมกกาไซเกิลต่อวินาที
8. คำว่า " เครื่องวิทยุคมนาคม " ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พศ.2498 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม ตามพระราชวิทยุคมนาคม (แบบที่3 ) พศ.2535 หมายความว่า เครื่องส่งวิทยุคมนาคมเครื่องรับวิทยุคมนาคม หรือเครื่องรับและเครื่องส่งวิทยุคมนาคม แต่ไม่รวม
ตอบ เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องรับหรือเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมด้วยคลื่นแฮรตเชี่ยน ตามลักษณะหรือประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง
9. คำว่า " พนักงานวิทยุคมนาคม " ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พศ. 2498 หมายความว่า
ตอบ ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
10. ใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคม มีอายุ
ตอบ 5 ปี นับตั้งแต่วันออก
*** วิชาที่2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
1.รหัส Q ในรูปของคำถามที่หมายถึง " สถานีของท่านชื่ออะไร " คือ
ตอบ QRA
2. รหัส Q ในรูปของคำถามที่หมายถึง " ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ไหน " คือ
ตอบ QTH
3. QSL CARD ( คิว เอส แอล คาร์ด ) คือ
ตอบ บัตรรายงานผลการติดต่อสื่อสาร
4. คำว่า CQ ( ซีคิว ) หมายถึง
ตอบ การเรียกแบบไม่เจาะจงสถานี
5.การเรียกขานทางวิทยุสมัครเล่น เมื่อเรียกไปครั้งหนึ่ง ควรจะ
ตอบ รอสักครู่เพื่อให้สถานีฝ่ายถูกเรียกมีเวลาเตรียมตัวและตอบกลับมา
6. เหตุฉุกเฉินหมายถึง
ตอบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
7. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินต้องการความช่วยเหลือทางวิทยุโทรศัพท์ คือ
ตอบ MAYDAY ( เมย์เดย์ )
8. รายละเอียดการติดต่อสื่อสารที่ต้องบันทึกไว้ในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสารได้แก่
ตอบ 1.วันเดือนปี และเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการติดต่อแต่ละครั้ง
ครั้ง
2. สัญญาณเรียกขานของคู่สถานีที่ติดต่อด้วย
3. ขนาดความถี่ที่ใช้ และหรือ ข้อสรุปข้อความที่ติดต่อแต่ละครั้ง
*** วิชาที่3 ทฤษฎีต่างๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
1. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงสภาพความผิดปกติในวงจรไฟฟ้าที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหล
ตอบ ลัดวงจร (SHORT CIRCUIT )
2. ไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) คือ
ตอบ 1.ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลทางเดียว
2. ไฟฟ้าที่มีค่าแรงดันไฟฟ้าสม่ำเสมอ
3. แรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้ากระเเสสลับที่ใช้ตามบ้านในประเทศไทยมีค่าเท่ากับ
ตอบ 220 โวลท์
4. ความถี่ของไฟฟ้าของไฟฟ้ากระเเสสลับที่ใช้ตามบ้านในประเทศไทยมีค่าเท่ากับ
ตอบ 50 เฮิรตซ์ ( Hz. )
5. เมื่อตรวจพบว่าฟิวส์ในเครื่องใช้ไฟฟ้าขาดวงจร จะมีหลักในการเปลี่ยนฟิวส์อย่างไร
ตอบ ตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ฟิวส์ขาดเสียก่อน แล้วจึงเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ โดยใช้แรงดันและกระแสไฟฟ้าเท่าเดิม
6. ตัวนำไฟฟ้าคืออะไร
ตอบ สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี
7. ไมค์โครโฟนทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็น
ตอบ พลังงานไฟฟ้า
8. กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น
ตอบ แอมป์แปร์
*** วิชาที่4 หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
1. หลักปฏิบัติในการใช้งานเครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบมือถือ ได้แก่
ตอบ 1.ใช้สายอากาศที่เหมาะสมกับความถี่รับ-ส่งของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
2.ใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับระยะทางในการรับ-ส่ง
3.ส่งเครื่องให้ช่างตรวจเป็นครั้งคราว
2. การรบกวนคลื่นความถี่วิทยุ มีสาเหตุจากอะไรบ้าง
ตอบ 1.มนุษย์ทำขึ้น
2.ปรากฎการณ์ธรรมชาติ
3. ข้อใดเป็นสายอากาศแบบทิศทาง
ตอบ สายอากาศยากิ ( YAGI )
4. สายดินที่ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้ารั่วออกมาจะได้ลงดินโดยไม่เกิดอันตราย
5. เหตุใดสายอากาศจึงต้องแมทชิ่ง ( Matching ) กับเครื่องรับ-ส่ง วิทยุ
ตอบ 1.เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องรับ-ส่งวิทยุ
2.เพื่อให้คลื่นวิทยุแพร่กระจายได้แรงที่สุด
3.เพื่อให้เครื่องรับ-ส่งวิทยุในขณะรับสัญญาณจะรับได้เต็มประสิทธิภาพ
6. การใช้วิทยุรับส่งโดยขาดการดูแลรักษา อาจทำให้เกิดการชำรุดในกรณีใดบ้าง
ตอบ 1.รับ-ส่งไม่ได้
2.ส่งได้ รับไม่ได้
3.ความไวภาครับและกำลังส่งลดน้อยลงกว่าเดิม
7. มัลลิมิเทอร์ ( MULTIMETER ) คือเครื่องมือใช้วัดอะไร
ตอบ ค่าแรงดันไฟฟ้า,กระแสไฟฟ้า,ความต้านทาน
8. ดัมมีโหลด ( DUMMY LOAD ) คืออะไร
ตอบ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อแทนสายอากาศในขณะปรับแต่งและทดสอบเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
*** วิชาที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมของนักวิทยุสมัครเล่น
1. นักวิทยุสมัครเล่นที่ดีควรมีจริยธรรมด้านใดบ้าง
ตอบ 1.ทางกาย
2.ทางวาจา
3.ทางใจ
2. ความซื่อสัตย์สุจริตในข้อใดที่นักวิทยุสมัครเล่นควรยึดปฏิบัติ
ตอบ 1.ความสุจริตต่อบ้านเมือง
2.ความสุจริตต่อประชาชนและสังคม
3.ความสุจริตต่อหน้าที่
3. ข้อใดกล่าวถึง หลักจริยธรรมทางวาจา ที่นักวิทยุสมัครเล่นที่ดีควรปฏิบัติ
ตอบ ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบหรือไม่พูดปดมดเท็จในการออกอากาศ
4. ข้อใดคือหลักจริยธรรมของนักวิทยุสมัครเล่นที่ควรถือปฏิบัติ
ตอบ 1.พึงละเว้นการเล่นวิทยุที่ก่อให้เกิดความรำคาญใจแก่ผู้อื่น
2.พึงละเว้นการเล่นวิทยุจนมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของครอบครัว การงาน โรงเรียนหรือชุมชน
3. พร้อมเสมอที่จะใช้ความรู้ความสามารถ เพื่อรับใช้ประเทศชาติ และชุมชน ของตนเองทั้งในยามปกติและเกิดภัยพิบัติ
5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการปฏิบัติตนที่ไม่เหมาะสมของนักวิทยุสมัครเล่นในขณะส่งออกอากาศ
ตอบ 1.ออกอากาศด้วยความมึนเมา ขาดสติสัมปชัญญะ
2.ออกอากาศด้วยความคึกคะนอง พูดจาหยอกล้อ ไม่สุภาพ
3.ออกอากาศพูดจาเยาะเย้ย ถากถาง กระแนะกระแหนนักวิทยุสมัครเล่นท่านอื่น
6. ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมและจริยธรรมที่นักวิทยุสมัครเล่นพึงปฏิบัติ (ไม่มีข้อใดถูกต้อง )
ตอบ 1.การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2.การรู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติ อยู่ในความสัจความดี
3.การอดทน อดกลั้น อดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ข้อสอบจากสมุทรปราการ ครับท่าน ขอให้ลองทำดู ไม่ยาก
เสริมเพิ่มเติมด้านล่าง ครับท่าน

สัญญาณเรียกขานแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ของเก่า ขาดตรงไหนกรุณาใส่กรุณาใส่ ด้วย

1. สัญญาณเรียกขาน HS1……และHS0…… E21……..และE20……มี 10 จังหวัด
1.1 กรุงเทพมหานคร 1.2 ชัยนาท 1.3 นนทบุรี 1.4 ปทุมธานี
1.5 พระนครศรีอยุธยา 1.6 ลพบุรี
1.7 สมุทรปราการ 1.8 สระบุรี 1.9 สิงห์บุรี 1.10 อ่างทอง
2. สัญญาณเรียกขาน HS2……และE27……มี 8 จังหวัด
2.1 จันทบุรี 2.2 ฉะเชิงเทรา 2.3 ชลบุรี 2.4 ตราด
2.5 นครนายก 2.6 ปราจีนบุรี 2.7 ระยอง 2.8 สระแก้ว
3. สัญญาณเรียกขาน HS3……มี 8 จังหวัด
3.1 ชัยภูมิ 3.2 นครราชสีมา 3.3 บุรีรัมย์ 3.4 ยโสธร
3.5 ศรีสะเกษ 3.6 สุรินทร์ 3.7 อุบลราชธานี 3.8 อำนาจเจริญ
4. สัญญาณเรียกขาน HS4……มี 11 จังหวัด
4.1 กาฬสินธุ์ 4.2 ขอนแก่น 4.3 นครพนม
4.4 มุกดาหาร 4.5 มหาสารคาม 4.6 ร้อยเอ็ด 4.7 เลย
4.8 สกลนคร 4.9 หนองคาย 4.10 อุดรธานี 4.11 หนองบัวลำภู
5. สัญญาณเรียกขาน HS5……มี 9 จังหวัด
5.1 เชียงราย 5.2 เชียงใหม่ 5.3 น่าน 5.4 พะเยา
5.5 แพร่ 5.6 แม่ฮ่องสอน 5.7 ลำปาง
5.8 ลำพูน 5.9 อุตรดิตถ์
6. สัญญาณเรียกขาน HS6……มี 8 จังหวัด
6.1 กำแพงเพชร 6.2 ตาก 6.3 นครสวรรค์ 6.4 พิจิตร
6.5 พิษณุโลก 6.6 เพชรบูรณ์
6.7 สุโขทัย 6.8 อุทัยธานี
7. สัญญาณเรียกขาน HS7……มี 8 จังหวัด
7.1 กาญจนบุรี 7.2 นครปฐม 7.3 ประจวบคีรีขันธ์ 7.4 เพชรบุรี
7.5 ราชบุรี 7.6 สมุทรสาคร
7.7 สมุทรสงคราม 7.8 สุพรรณบุรี
8. สัญญาณเรียกขาน HS8……มี 7 จังหวัด
8.1 กระบี่ 8.2 ชุมพร 8.3 นครศรีธรรมราช 8.4 พังงา
8.5 ภูเก็ต 8.6 ระนอง 8.7 สุราษฎร์ธานี
9. สัญญาณเรียกขาน HS9……มี 7 จังหวัด
9.1 ตรัง 9.2 นราธิวาส 9.3 ปัตตานี 9.4 พัทลุง
9.5 ยะลา 9.6 สงขลา 9.7 สตูล

A Alfa อัลฟ้า
B Bravo บราโว้
C Charlie ชาลี
D Delta เดลต้า
E Echo เอคโค่
F Foxtrot ฟ็อคทร็อด
G Golf ก็อลฟ
H Hotel โฮเทล
I India อินเดีย
J Juliett จูเลียด
K Kilo คีโล
L Lima ลิม่า
M Mike ไมค์
N November โนเวมเบอร์
O Oscar ออสการ์
P Papa ปาป่า
Q Quebec คิวเบค
R Romeo โรมีโอ
S Sierra เซียร่า
T Tango แทงโก้
U Uniform ยูนิฟรอม
V Victor วิคเตอร์
W Whiskey วิสกี้
X X-ray เอคซ-เร
Y Yankee แยงกี้
Z Zulu ซูลู

คำถาม คำตอบ
QRA สถานีของท่านชื่ออะไร ?
สถานีของข้าพเจ้าชื่อ............................................
QRB ท่านอยู่ห่างจากสถานีของข้าพเจ้าเท่าใด ?
ข้าพเจ้าอยู่ห่างจากสถานีของท่านประมาณ............
QRD ท่านจะไปที่ไหน และมาจากไหน ?
ข้าพเจ้าจะไป...............ข้าพเจ้ามาจาก.....................
QRE ท่านจะมาถึงเวลาใด ?
ข้าพเจ้าจะไปถึงเวลา...........................
QRG ท่านจะบอกความถี่แท้จริงของข้าพเจ้าได้ไหม ?
ความที่แท้จริงของท่านคือ.....................
QRH ความถี่ของข้าพเจ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?
ความถี่ของท่านเปลี่ยนแปลง....................
QRK ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด ?
ข้าพเจ้ารับฟังข้อความของท่านได้............
1. ไมได้เลย
2. ไม่ค่อยดี (แทบไม่ได้เลย , รับได้เพียงบ้างคำ)
3. พอใช้
4. ดี
5. ดีเยี่ยม
QRL ท่านกำลังมีธุระหรือ ?
ข้าพเจ้ากำลังมีธุระ.....(หรือข้าพเจ้ามีธุระกับ.....) โปรดอย่ารบกวน
QRM ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ ?
ข้าพเจ้ากำลังถูกรบกวนในระดับ....................
1. ไม่ถูกรบกวน
2. เล็กน้อย
3. ปานกลาง
4. ค่อนข้างรุนแรง
5. รุนแรง
QRN ท่านถูกรบกวนจากโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศหรือ ?
ข้าพเจ้าถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศในระดับ
1. ไม่ถูกรบกวน
2. เล็กน้อย
3. ปานกลาง
4. ค่อนข้างรุนแรง
5. รุนแรง
QRO ข้าพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่ ?
เพิ่มกำลังส่งขึ้นอีก
QRP ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่ ?
ลดกำลังส่งลง
QRQ ข้าพเจ้าจะส่งเร็วขึ้นได้หรือไม่ ?
ส่งเร็วขึ้น (............คำต่อนาที)
QRS ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลงได้หรือไม่ ?
ส่งช้าลง (..............คำต่อนาที)
QRT ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่ ?
หยุดการส่ง
QRU ท่านมี (ข้อความ) อะไรสำหรับข้าพเจ้าหรือไม่ ?
ข้าพเจ้าไม่มี (ข้อความ) อะไรสำหรับท่าน
QRV ท่านพร้อมหรือยัง ?
ข้าพเจ้าพร้อมแล้ว
QRW จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่าท่านกำลังเรียกอยู่ที่
ความถี่........KHz (หรือ.....MHz) ?
โปรดแจ้งเขาว่าข้าพเจ้ากำลังเรียกเขา
ที่ความถี่...........KHz (หรือ...........MHz)
QRX เมื่อใดท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก ?
ข้าพเจ้าจะเรียกท่านอีกเวลา..........น
ที่ความถี่...........KHz (หรือ ..........MHz)
QRZ ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า ?
...............(ชื่อสถานี) กำลังเรียกท่าน
ที่ความถี่.........KHz (หรือ........MHz)
QSA ความแรงสัญญาณของข้าพเจ้าเป็นอย่างไร ?
ความแรงสัญญาณของท่านอยู่ในระดับ................
1. อ่อนมากจนรับสัญญาณแทบจะไม่ได้เลย
2. อ่อน
3. แรงพอใช้ได้
4. ดี
5. ดีมาก
QSB สัญญาณของข้าพเจ้าจางหายหรือไม่ ?
สัญญาณของท่านจางหาย
QSL ท่านรับข้อความได้หรือไม่ ?
ข้าพเจ้ารับข้อความได้แล้ว
QSM จะให้ข้าพเจ้าทวนข้อความสุดท้าย
(หรือก่อนหน้านี้) ซ้ำอีกหรือไม่ ?
โปรดทวนข้อความสุดท้าย
(หรือข้อความที่.........) ซ้ำอีกครั้ง
QSN ท่านได้ยินข้าพเจ้า (หรือชื่อสถานี)
ที่ความถี่....KHz (หรือ ....MHz) หรือไม่ ?
ข้าพเจ้าได้ยินท่าน (หรือชื่อสถานี)
ที่ความถี่....KHz (หรือ ....MHz)
QSO ท่านสามารถติดต่อกับ (ชื่อสถานี) ได้โดยตรง
(หรือโดยการถ่ายทอด) หรือไม่ ?
ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับ (ชื่อสถานี) ได้โดยตรง
(หรือโดยการถ่ายทอดผ่าน..............)
QSP ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง.......ได้ หรือไม่ ?
ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดข้อความไปถึง...............ได้
QSX ท่านจะรับฟัง (ชื่อสถานี) ที่ความถี่
…….KHz (หรือ........MHz) ได้หรือไม่ ?
ข้าพเจ้ากำลังรับฟัง (ชื่อสถานี) ที่
ความถี่…….KHz (หรือ........MHz)
QSY ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่นได้หรือไม่ ?
ให้เปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่น (หรือที่ความถี่…. KHz (หรือ..........MHz)
QTH ตำแหน่งของสถานีท่านอยู่ที่ใด ?
ตำแหน่งของสถานีของข้าพเจ้าอยู่ที่........................
QTR ขณะนี้เวลาเท่าใด ?
ขณะนี้เวลา..............................

RST
RST เทียบเท่ารหัส Q คือ QRK R = readability ความชัดเจนในการฟัง
S = signal strength ความแรงสัญญาณที่รับได้ T = tone ความแจ่มใสของเสียง
1. รับไม่ได้เลย 1. อ่อนมากรับแทบไม่ได้ 1. เสียงพร่ามากคลื่นความถี่ต่ำ
2. รับแทบไม่ได้ 2. อ่อนมาก 2. เสียงพร่ามาก
3. รับได้ยากลำบาก 3. อ่อน 3. เสียงพร่าเหมือนแรงดันไฟไม่มีการกรองให้เรียบ
4. รับได้ดี 4. พอใช้ได้ 4. เสียงพร่าและยังกระเพื่อมอยู่
5. รับได้ดีมาก 5. ดีพอใช้ 5. เสียงยังกระเพื่อมอยู่อีกมาก
6. ดี 6. เสียงยังกระเพื่อมเล็กน้อย
7. แรงปานกลาง 7. เกือบดียังกระเพื่อมอยู่บ้าง
8. แรงดี 8. เกือบดีแล้ว
9. แรงดีมาก 9. ดีมากไม่มีตำหนิ
RS จากเข็ม S-METER ของเครื่องรับวิทยุ ซึ่งจะมีสเกลจาก 1 ถึง 9 ส่วนที่เกินจาก 9 ก็จะแสดงว่าเป็น dB เช่น +10dB, + 20dB ตัวอย่างในระบบ RSTถ้ารับฟังข้อความได้ดีเยี่ยมและอ่าน S-METER ได้ 6 จะตอบค่าเป็น 56 (จะตอบ 5 นำเสมอ )

คำเฉพาะและคำย่อต่างๆ
BREAK ( เบรก ) ขอขัดจังหวะ การติดต่อระหว่างคู่สถานีที่กำลังติดต่อกันอยู่
(มาจากคำว่า BREAK IN)
CLEAR ( เคลียร์ ) เลิกใช้ความถี่ที่กำลังใช้อยู่ เมื่อสิ้นสุดการติดต่อเพื่อเปิดโอกาส
ให้สถานีอื่นมาใช้ได้
CONTACT ( คอนเทค ) ขอเข้าร่วมใช้ความถี่ที่คู่สถานีกำลังตืดต่อกันอยู่
CQ ( ซีคิว ) เรียกแบบไม่เจาะจงสถานี (GENERAL CALL) เพื่อต้องการ
จะติดต่อด้วย มีความหมายเท่ากับ (ผู้ใดได้ยินแล้วตอบด้วย)
DX ( ดีเอก ) การติดต่อระยะทางไกล ๆ ด้วยวิทยุ ระยะทางไกล สถานีอยู่ห่างไกล
(ต่างประเทศ) ย่อมาจากคำว่า DISTANCE
HAM ( แฮม ) คำแสลง หมายถึง นักวิทยุสมัครเล่น
LAND LINE (LIMA LIMA) ( แลนดไลน ) โทรศัพท์
MAYDAY ( เมเดย์ ) สัญญาณแจ้งเหตูอันตรายหรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในระบบวิทยุโทรศัพท์
มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Maider ซื่งหมายถืง (ช่วยฉันด้วย)
NEGATIVE ( เนกอะทิฝ ) ไม่ใช่ ขอปฏิเสธ
OVER ( โอเวอร์ ) เปลี่ยน เชิญให้คู่สถานีเป็นฝ่ายส่ง
ROGER ( โรเจอร์ ) รับข้อความที่ส่งมาได้ครบถ้วนและเข้าใจแล้ว
STAND BY ( แสตนบาย ) อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะรับการติดต่อ
XYL ( เอกวายแอล ) ภรรยา มาจากคำว่า Ex – Young Lady
YL ( วายแอล ) หญิงสาว หรือนักวิทยุสมัครเล่นที่เป็นเพศหญิง
มาจากคำว่า Young Lady
73 ( เจ็ดสิบสาม ) ด้วยความปรารถนาดี (Best Regards) ใช้กล่าวอำลา
เมื่อจะเลิกการติดต่อทางวิทยุ
88 ( แปดสิบแปด ) มาจากคำว่า Love and Kisses ใช้กล่าวอำลาระหว่างนักวิทยุ
สมัครเล่นที่มีเพศต่างกันและคุ้นเคยกันเท่านั้น
GO AHEAD ( โกอะเฮด ) เริ่มส่งได้
QSL CARD ( คิวเอสแอลการ์ด ) บัตรรายงานผลการติดต่อสื่อสาร ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นใช้ส่งถึงกัน
ในการติดต่อกันเป็นครั้งแรก เพื่อยืนยันผลการรับ/ส่งวิทยุ
โดยทั่วไปจะมีขนาดใกล้เคียงไปรษณียบัตรและนิยมเก็บสะสมกัน
เป็นที่ระลึก

มีผิดพลาดตรงไหนแจ้งได้เลยนะค่ะ