ระยอง-เสม็ด:รวมกิจกรรม กีฬา งานบุญ งานอาสา ที่พัก ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจ ในระยองและทั่วไทย

ไทยระยอง กับกุล่มกิจกรรม กีฬา ต่างๆ ใน จ.ระยอง
สนับสนุนโดย

[คลิกที่นี่]
=> กิจกรรมทางน้ำ กลุ่มนักดำน้ำ ว่ายน้ำ และกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ น้ำและทะเล => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ กรกฎาคม 01, 2014, 03:18:45 pm



หัวข้อ: 27 กรกฎาคม 2557อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม กับ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หาดเตยงาม
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ กรกฎาคม 01, 2014, 03:18:45 pm
อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ร่วมกับ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
จัดกิจกรรม ปลูกปะการังชายฝั่ง ดำน้ำตื้น
27 กรกฎาคม 2557
ณ หาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน จ.ชลบุรี


รับจำนวน 50 คน

อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.volunteerspirit.org/event/7274

ที่มา https://www.facebook.com/Jitasa/photos/a.10150385756841236.372763.114083371235/10152443390356236/?type=1&theater
Facebook Volunteerspirit




""""""""""""""""""

กิจกรรมปลูกปะการัง  27 กรกฎาคม 2557

ณ หาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน จ.ชลบุรี
 
ที่มา : เมื่อปี พ.ศ.2538  อ.ประสาน  แสงไพบูลย์ ได้ค้นคว้าทดลองปลูกปะการังด้วยท่อพีวีซี ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก เนื่องจากท่อพีวีซีเป็นวัตถุที่คงทนและไม่เป็นพิษภัยต่อธรรมชาติ จึงได้มีองค์กรต่างๆ นำวิธีการปลูกปะการังด้วยท่อพีวีซีมาทำตามกันมากขึ้น
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่นำเอาการปลูกปะการังมาทำเป็นกิจการการท่องเที่ยว แต่ต่อมาทางหน่วยงานเห็นว่าเมื่อเกิดสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง มีการสูญเสียปะการังไปไม่น้อย ทำให้ท่อพีวีซีกลายเป็นขยะในทะเล จึงได้ทำการอนุรักษ์ปะการังแบบยั่งยืน ด้วยการใช้หินฟอสซิลจากธรรมชาติมาเป็นฐานปลูกแทน
ซึ่ง อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก็เห็นด้วยกับวิธีการนี้ เพราะวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ปะการัง ไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์เพียงให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเท่านั้น แต่ยังหวังผลทางด้านการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งการดำน้ำดูปะการังนั้นเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่ประเทศ  นักท่องเที่ยวคงจะไม่ประทับใจเท่าที่ควร หากดำน้ำดูปะการังแล้วเห็นท่อพีวีซีสีฟ้า 
ดังนั้น การปลูกปะการังจึงควรจะต้องทำให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติด้วย ส่วนการปลูกด้วยท่อพีวีซีนั้นก็อาจยังคงต้องใช้สำหรับปลูกขยายพันธุ์ในแปลงเพาะก่อนจะย้ายไปปลูกจริง
 
รายละเอียดกิจกรรม
วันอาทิตย์ที่ 27 ก.ค. 2557
06.30 น  นัดรวมพลสมาชิกที่ ปตท. สนามเป้า (อยู่ใกล้อนุสาวรีย์ชัยฯ ถนนพหลโยธินฝั่งขาเข้า ข้าง ททบ.5 มีแผนที่ให้ดูในหน้ากิจกรรม)
07.00 น  ออกเดินทางโดยรถบัสพัดลม
09.45 น  (โดยประมาณ) เดินทางถึงหาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
10.00 น  รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับวิธีการปลูกปะการัง เริ่มปลูกปะการัง และถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน (เสื้อกิจกรรม)
ทหารเรือจะรับช่วงต่อนำปะการังไปวางบริเวณรอบเกาะไก่เตี้ย ไม่อนุญาตให้สมาชิกดำลงไปวางด้วยตนเอง จะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญในการดำน้ำลึก (Scuba) ส่วนสมาชิกจะได้ดำน้ำตื้น (Snorkeling) โดยใช้หน้ากากหายใจและเสื้อชูชีพ
11.00 น  แบ่งสมาชิกออกเป็น 2 ชุด (เนื่องจากเรือมี 2 ลำ นั่งได้ลำละไม่เกิน 15 คน)
  -  ชุดที่ 1 รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับวิธีการดำน้ำตื้น (Snorkeling) ฝึกทดสอบใช้อุปกรณ์ และขึ้นเรือไปดำน้ำดูปะการัง (ไปพร้อมกับเรือที่นำปะการังไปวางใต้ทะเล) เสร็จแล้วกลับมาอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า
  -  ชุดที่ 2 เก็บขยะชายหาด ไปตามจุดสำคัญต่างๆ บนชายฝั่ง ได้แก่ ประติมากรรมเรือใบ อนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน และพิพิธภัณฑ์ทหารนาวิกโยธิน
12.30 น  พักรับประทานอาหารกลางวัน  (กระเพราปลาหมึก และมีกระเพราไก่สำหรับคนแพ้อาหารทะเล)
13.30 น  เริ่มกิจกรรมช่วงบ่าย ทั้ง 2 ชุดสลับภารกิจกัน
-  ชุดที่ 1 เก็บขยะชายหาด ไปตามจุดสำคัญต่างๆ บนชายฝั่ง ได้แก่ ประติมากรรมเรือใบ อนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน และพิพิธภัณฑ์ทหารนาวิกโยธิน
  -  ชุดที่ 2 รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับวิธีการดำน้ำตื้น (Snorkeling) ฝึกทดสอบใช้อุปกรณ์ และขึ้นเรือไปดำน้ำดูปะการัง เสร็จแล้วกลับมาอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า
15.00 น  ปล่อยแยกย้ายพักผ่อนตามอัธยาศัย บริเวณชายหาด
15.30 น  รวมพล พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม สรุปกิจกรรม และถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน (เสื้อฟรีสไตล์)
16.00 น  เดินทางกลับออกจากหาด  รถจอดให้แวะซื้อของฝากและรับประทานอาหาร 20 นาที และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ (กลับถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 20.00 น  ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร)
*ลำดับกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
 
สิ่งที่สมาชิกต้องเตรียมไปด้วย
- เสื้ออาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (สำหรับคนที่มีเสื้ออยู่แล้ว)
- กางเกงขาสั้นสำหรับลงดำน้ำ
- ถุงพลาสติกสำหรับใส่ผ้าเค็มกลับไปซักที่บ้าน
- ชุดเปลี่ยน 1 ชุด
 
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าสมัคร (ค่ารถ, ค่าเรือ, ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม, ค่าตอบแทนวิทยากร, ค่าปลูกปะการัง, ค่าดำน้ำ) คนละ 600 บาท (รายได้เป็นของกองทัพเรือ อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ได้มีผลกำไรจากค่าสมัครนี้)
2. ค่าเสื้อ ตัวละ 180 บาท สำหรับท่านที่มีเสื้ออาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว สามารถใช้ของเดิมได้ โดยจะได้รับการยกเว้นการเก็บเงินค่าเสื้อ (กำไรจากเสื้อตัวละ 90 บาท เข้ากองทุนของอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการปลูกป่าและเป็นค่าใช้จ่ายให้ทีมงานในการเดินทาง สำรวจ เตรียมงาน และติดต่อประสานงานต่างๆ)
รวมค่าสมัคร+ค่าเสื้อ = 780 บาท (600 บาทสำหรับคนที่มีเสื้ออยู่แล้ว)
 
คุณสมบัติผู้สมัคร : ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดวัย ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถหรือประสบการณ์ในการว่ายน้ำหรือดำน้ำ
 
ขั้นตอนและวิธีการสมัคร
1) กรอกรายละเอียดในอีเมล์ ดังต่อไปนี้
- คำนำหน้าชื่อ-ชื่อจริง-นามสกุล
- ชื่อเล่น
- อาชีพ (กรณีที่เป็นนักเรียนนักศึกษาให้ระบุสาขาวิชาและสถาบันด้วย)
- ไซส์เสื้อ ( รอบอก S 33 นิ้ว, M 35 นิ้ว, L 40 นิ้ว, XL 45 นิ้ว ) สมาชิกที่มีเสื้ออาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่แล้วสามารถนำของเดิมมาเข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยระบุว่า "มีแล้ว" จะได้รับการยกเว้นค่าเสื้อ
- เบอร์โทรศัพท์
2) ส่งมาที่อีเมล์ EPV.or.th@hotmail.com  แล้วรอรับอีเมล์ตอบกลับ (จะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง) เราจะแจ้งจำนวนเงิน หมายเลขบัญชี และกำหนดการรับโอนเงินให้ท่านทราบ
 
หมายเหตุ : ไม่รับสมัครทางโทรศัพท์ เนื่องจากไม่มีทีมงานที่ว่างเว้นจากงานอาชีพส่วนตัวในชีวิตประจำวัน จึงไม่สามารถรับสายโทรศัพท์ได้ตลอดเวลา (ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้)
หากมีข้อสงสัยที่นอกเหนือไปจากรายละเอียดดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
-   เพจ : อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  https://www.facebook.com/EPV.or.th
-   หน้ากิจกรรม : https://www.facebook.com/events/1494954280737708
-   อีเมล์ : EPV.or.th@hotmail.com  (อีเมล์เดียวกันกับที่รับสมัคร)
-   Facebook ส่วนบุคคล ว่าที่ร้อยโทสราวุฒิ  สารคำ : โย  ไบเล่  ( Yo  Bireley )
 
ผู้ที่สนใจโปรดกดเข้าร่วมในหน้ากิจกรรม และกดติดตามเพจ เพื่อทราบการอัพเดรทข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
หน้ากิจกรรม : https://www.facebook.com/events/1494954280737708
เพจ “อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม”  https://www.facebook.com/EPV.or.th


ที่มา http://www.volunteerspirit.org/event/7274