ระยอง-เสม็ด:รวมกิจกรรม กีฬา งานบุญ งานอาสา ที่พัก ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจ ในระยองและทั่วไทย

เกี่ยวกับเด็ก ศูนย์ช่วยเหลือเด็ก โรงเรียน สถานศึกษา มหาวิทยาลัย ประชาสัมพันธ์ฟรี
=> มหาวิทยาลัย ศูนย์การเรียนรู้อื่นๆ โรงเรียนสอนพิเศษ โรงเรียนดนตรี ศิลป และอื่นๆ ค่ายเยาวชน ศูนย์ช่วยเหลือเด็ก => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ มีนาคม 10, 2012, 07:52:06 pm



หัวข้อ: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เปิดที่ระยองแล้วค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มีนาคม 10, 2012, 07:52:06 pm
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เปิดที่ระยองแล้วค่ะ

(http://www.life.ac.th/Title1a.gif)
http://www.life.ac.th/


เรียน3 ปี

สอบถามรายละเอียดได้ที่
เบอร์ด้านล่าง

หรือทางศูนย์โรงเรียนวัดเขาห้วยมะหาด เบอร์ 038-030233 คุณครูบุญธรรมดูแลเรื่องนี้อยู่ค่ะ หรือเบอร์มือถือ 081-7822765


แต่ทางระยองก็มีหลายศูนย์นะค่ะ ลองโทรไปถามได้ที่โทรศัพท์ ๐๓๔-๗๕๗๔๕๒ - ๘

โทรสาร ๐๓๔-๗๕๗๔๕๒ ต่อ ๑๖๖

อีเมล์ info@life.ac.th

เว็บไซต์ www.life.ac.th


======================

จบแล้วก็สามารถ
-ทำงานกับหน่วยงาน CSR ของบริษัทต่างๆ
ประกอบอาชีพอิสระ อย่างมีแนวทางที่ชัดเจน
เป็นอาจารย์หรือวิทยากร
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน
นักวิจัย
พนักงาน ข้าราชการ ตามกำหนดของ ก.พ.
พนักงานส่วนท้องถิ่ง สมาชิกสภา อบต เทศบาล และ อบจ
พนักงานบริษัทเอกชน
และอาชีพอื่นๆ
ทางระยองมีทุนให้ด้วย(ตามเงื่อนไข) สนใจติดต่อกันด่วนๆเลยจร้า

======================

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยผู้ขออนุญาตจัดตั้งคือ มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เริ่มรับสมัครผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเข้าเรียนเป็นรุ่นแรกในเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ โดยเปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสาขาการจัดการสุขภาพชุมชน และมีเป้าหมายจะเปิดสาขาวิชาการจัดการการเกษตรยั่งยืนเพิ่มอีกสาขาในปีการศึกษา ๒๕๕๔

ก่อนจะมาเป็นสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนได้พัฒนาหลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต และได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนโดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยราชภัฎหลายแห่ง
ที่มาของโครงการนี้เป็นผลที่ได้จากการสะสมประสบการณ์การทำงานกับชุมชนที่ซึ่งพบว่ายังมีบุคคลและชุมชนเป็นจำนวนมากที่สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ไม่ว่าปัญหาหนี้สินปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพ จนทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิต อาชีพการงาน มีบุคคล ครอบครัว และชุมชนหลายแห่งที่เข้มแข็ง สามารถจัดการทรัพยากร ผลผลิต สิ่งแวดล้อม ชาวบ้านอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมั่นใจ ไม่ทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปรับจ้างที่อื่น มีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของตนเอง

โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตเกิดขึ้นจากการนำประสบการณ์ดีๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนาเป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การจัดการสุขภาพชุมชน และการจัดการการเกษตรยั่งยืน โดยในอนาคตจะมีหลักสูตรและสาขาอื่นๆ อีก โดยทั้งหมดเน้นการจัดการอุดมศึกษาเพื่อชุมชน (university for community) มีผู้ใหญ่ในชุมชนเป็นเป้าหมายหลัก แต่ไม่ได้ปฏิเสธเยาวชนที่เพิ่งจบมัธยมปลาย ซึ่งก็รู้ดีว่า เยาวชนเหล่านี้อยากไปเรียนในเมืองมากกว่า และเชื่อว่าเมื่อผู้ใหญ่ในชุมชนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองแล้วก็จะทำให้เกิดความเข้าใจ เป็นที่พึ่งของเยาวชนได้ และเยาวชนก็ไม่เกิดความรู้สึกว่าพ่อแม่ ญาติพี่น้องไม่รู้อะไรเลย เหตุเพราะไม่ได้เรียนจนได้รับปริญญา ประกอบกับคนรุ่นใหม่ยังไม่เข้าใจปริญญาชีวิต เพราะเยาวชนยังต้องใช้เวลา ลองผิด - ลองถูกอีกยาวนานในชีวิต ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่น่าจะต้องใช้เวลายาวนานเช่นนั้น

การศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตเป็นการบูรณาการการศึกษากับการพัฒนาให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีเป้าหมายให้ผู้เรียนสามารถ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินในท้องถิ่นของตนเองได้ เรียนแล้วช่วยตนเองได้ ช่วยคนอื่นได้ ด้วยความเชื่อมั่นว่า ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันและความมั่นคงให้กับตนเองได้มากยิ่งขึ้น

หลักสูตรและสาขาวิชา
หลักสูตรปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต มี ๔ สาขา ดังนี้
๑. สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
๒. การจัดการสุขภาพชุมชน
๓. การจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชน (ยังไม่เปิดรับสมัคร)
๔. การจัดการการเกษตรยั่งยืน

หลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มี ๒ สาขา ดังนี้
๑. สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
๒. การจัดการระบบสุขภาพชุมชน


เรียนอะไร? อย่างไร?

เรียนโดยเอา ชีวิต เป็นตัวตั้ง ไม่เอา วิชา เป็นตัวตั้ง นั่นคือการเอาปัญหาและความต้องการในชีวิตและชุมชนของผู้เรียนเป็นตัวตั้งนั่นเอง สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนมุ่งจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาชีพการงานแล้วเป็นหลัก มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ในการงานอาชีพของตนมาแล้ว "วิชา" ในหลักสูตรจึงมีลักษณะคล้าย "ประเด็น" ให้ผู้เรียนได้ประมวลประสบการณ์ของตนมาบูรณาการเข้ากับความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งจากเอกสาร จากผู้รู้ในท้องถิ่น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ในแต่ละสาขาวิชาจะมีการจัดวิชาสัมมนาไว้มาก รวมทั้งในกิจกรรมการเรียนรู้ก็จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ในทุกวิชา ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาไปพร้อมกัน โดยอาจารย์ในสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนเป็น "ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้" มากกว่า "ผู้สอน" เป็นจัดการศึกษาตามแนวคิด "สอนน้อย เรียนมาก" นักศึกษาจึงเรียนผ่านการทำ "กิจกรรม" และ "โครงงาน" เป็นหลัก ทั้งกิจกรรมหรือโครงงานเดี่ยวและกลุ่ม ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะทำเรื่องใด ซึ่งก็คือเรื่องที่มี "ความหมาย" กับชีวิต ครอบครัว และชุมชนของผู้เรียนจริง ผู้เรียนเป็นผู้ตั้งโจทย์หรือคำถามเอง เช่น การเรียนรู้เรื่องสุขภาพก็เพื่อความแข็งแรงของผู้เรียน ผู้เรียนปฏิบัติโดยการปรับการกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อน (ไม่ใช่ให้ท่องจำทฤษฏีเกี่ยวกับสุขภาพ) โดยอาจมีเป้าหมายที่จะไม่ต้องกินยาลดความดัน ยาลดไขมันในเลือด ลดกรดในเลือดอีกต่อไป การเรียนรู้เรื่องการเงินการออมก็ทำจริง ตั้งกลุ่มออมทรัพย์กันในหมู่ผู้เรียนจริง ให้เกิดประโยชน์จริงๆ ในระหว่างการเรียนนั้นเลย เรียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนก็ลงมือจัดระเบียบชีวิตของตนเองใหม่ อยู่อย่างเรียบง่าย ทำกินเองใช้เองมากขึ้น เช่น ปลูกพืชผักสวนครัวจริงๆ เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ไม่ต้องซื้อผักตลาด และยังสุขภาพดีเพราะปลอดสารเคมีแน่นอน เรียนเรื่องแผนแม่บทชุมชนก็ทำกับชุมชนของตนจริงๆ ทำแล้วมีผลกระทบกลับมาที่ตนและครอบครัวจริง เรียนเรื่องสุขภาพชุมชน หากชุมชนนั้นมีปัญหา โรคระบาดอะไร ก็ต้องร่วมมือกันทำให้โรคนั้นเบาบางลงหรือหมดไปจริง ผู้ใหญ่จะกระตือรือร้นในการเรียนรู้เรื่องที่มีความหมายกับชีวิตจริงมากกว่าเรื่อง "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม" การเรียนโดยเอาชีวิตจริงชุมชนจริงนี้จึงเป็นการเรียนในเรื่องที่ใกล้ตัว เรียนสนุก เยาวชนก็น่าจะให้ความสนใจกับการสร้างวิถีชีวิตใหม่ที่ไม่ต้องรอนายจ้างสร้างงานแต่จะเป็นผู้สร้างงาน สร้างชีวิตที่พอเพียง และอยู่ดีมีสุข ได้ในที่สุด ซึ่งได้ภาพสะท้อนของกลุ่มผู้ใหญ่ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปทั้ง แนวคิด วิถีชีวิต ครอบครัวและชุมชน

ในระดับปริญญาโท วิชาที่เรียนมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันเรียนรู้ทำความเข้าใจท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งเข้าใจบริบท และปฏิสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับสังคมใหญ่ เข้าใจหลักวิชาการที่ว่าด้วยการพัฒนาท้องถิ่น ตั้งแต่การวางแผนในภาพรวม รวมทั้งเครื่องมือในการสำรวจ การวิจัยเพื่อให้เข้าถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่น ไปจนถึงการนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์สังเคราะห์จนเกิดแผนพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความเป็นจริง การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ก่อให้เกิดผลการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพด้วยกลยุทธ์ที่ดีและมีธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน ซึ่งวัดได้จากขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น การเชื่อมประสานพลังของประชาสังคมให้ร่วมมือกันทำงานแบบภาคีที่เท่าเทียม การสร้างเครือข่ายชุมชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดขบวนการภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เป็นรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดการพึ่งพาตนเอง การทำงานขององค์กรระบบภาคีและความเป็นเครือข่าย
วิชาที่เรียนในระดับปริญญาโท ได้แก่ วิชากระบวนทัศน์การพัฒนาแบบบูรณาการ วิชาบูรณาการทฤษฎีความรู้และวิธีวิจัย วิชายุทธศาสตร์ทุน วิชายุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน วิชายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น วิชายุทธศาสตร์วิสาหกิจชุมชน วิชายุทธศาสตร์การเกษตร วิชายุทธศาสตร์สุขภาพ วิชาการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการกินเป็นอยู่เป็น วิชาการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการจัดการอาชีพรายได้ หนี้สินและสวัสดิการ วิชาการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ วิชาระบบการดูแลสุขภาพในชุมชน วิชายุทธศาสตร์การพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพชุมชน วิชาการสัมมนาหัวข้อเฉพาะ การฝึกปฏิบัติการภาคสนาม การทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ

การเปิดรับสมัครนักศึกษา
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนจะเปิดรับสมัครนักศึกษาทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทรุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๔ ในสถานที่ตั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ เปิดเรียนเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ และมีโครงการเปิดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้งด้วยในเวลาเดียวกัน (รายละเอียดเรื่องการเปิดนอกสถานที่ตั้งจะประกาศต่อไป)

สถานที่ตั้งสถาบันและการติดต่อสอบถาม

๑๓/๒ หมู่ ๑ ต.บางคนที อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ๗๕๑๒๐

โทรศัพท์ ๐๓๔-๗๕๗๔๕๒ - ๘

โทรสาร ๐๓๔-๗๕๗๔๕๒ ต่อ ๑๖๖

อีเมล์ info@life.ac.th

เว็บไซต์ www.life.ac.th

คลิกที่นี่เพื่อดูแผนที่เส้นทางสู่สถานที่ตั้งสถาบัน

ที่มา http://www.life.ac.th/about_us20110312a.htm


หัวข้อ: Re: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เปิดที่ระยองแล้วค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มีนาคม 10, 2012, 07:59:09 pm

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เปิดที่ระยองแล้วค่ะ ก็มีหลายจุดนะค่ะ แต่พึ่งได้ข้อมูลมาที่เดียวเลยนำมาแบ่งปันกัน ^_^

=============================


สถานที่ตั้งสถาบันหลักและการติดต่อสอบถาม

๑๓/๒ หมู่ ๑ ต.บางคนที อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ๗๕๑๒๐

โทรศัพท์ ๐๓๔-๗๕๗๔๕๒ - ๘

โทรสาร ๐๓๔-๗๕๗๔๕๒ ต่อ ๑๖๖

อีเมล์ info@life.ac.th

เว็บไซต์ www.life.ac.th

คลิกที่นี่เพื่อดูแผนที่เส้นทางสู่สถานที่ตั้งสถาบัน

ที่มา http://www.life.ac.th/about_us20110312a.htm