หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน พฤษภาคม 04, 2024, 12:06:57 pm
ข่าว:
@ติดต่อไทยระยอง[e-mail : ThaiRayong.webmaster@gmail.com] (098-2933593 , Facebook.com/ThaiRayongFanPage)ปิดระบบสมัครสมาชิกชั่วคราว
กลับหน้าแรกไทยระยอง แผนที่ระยอง | ที่พักระยอง | ของกินระยอง | เที่ยวระยอง | ซื้อขายสร้างบ้านและการตกแต่ง | เยาวชนคนดีศรีระยอง
**1672ข้อมูลท่องเที่ยว 1155 ตำรวจท่องเที่ยว, 1669แพทย์ฉุกเฉิน กู้ชีพ
**ข่าวภาพ คลิป** #คลิกที่นี่ รวมกิจกรรม ข้อมูล ในระยองและใกล้เคียง
สนับสนุนโดย ระยองทรัพย์ปิโตรเลียม
สนับสนุนโดย สุขเกษมการบัญชี
สนับสนุนโดย บ้านครูโอ๊ะ
ติดต่อต่อป้ายโฆษณา 098-2933593

รวมบันทึก ตามพระราชดำริ
คลิก แผนที่เที่ยวระยอง  |   เบอร์โทรสำคัญ  |   วัดในระยอง  |   เที่ยวระยอง  |   เที่ยวทั่วไทย  |  เสม็ด&การเดินทาง  |  ที่พัก  |  ร้านอาหาร  |  Webboard(ข้อมูลท่องเที่ยวกิจกรรม update ทุกวัน!)   |  หางาน
คลิก: @HAM @ฟ้าใสระยอง145.200 @จอมแหEnduro @รวมเอ็นดูโร่ @โมโตครอสโลกMotocrossWorld @ไบค์เกอร์ @offroad @เดินวิ่ง @จักรยาน @ดำน้ำ @KiteBoarding @ฟุตบอล @กอล์ฟ @ไตรกีฬา @Darts

+  ระยอง-เสม็ด:รวมกิจกรรม กีฬา งานบุญ งานอาสา ที่พัก ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจ ในระยองและทั่วไทย
|-+  รวมข่าวประชาสัมพันธ์ นักวิทยุสมัครเล่นฯ
สนับสนุนโดย


| |-+  ทั่วไป
| | |-+  ดูช้างที่"ป่ากุยบุรี" ซาฟารีแห่งอาเซียน
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ดูช้างที่"ป่ากุยบุรี" ซาฟารีแห่งอาเซียน  (อ่าน 3657 ครั้ง)
E20ZSY
Hero Member
*****
กระทู้: 5794


"การลงมือทำ ดีกว่าคำพูด ที่สวยหรู"


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2011, 09:12:42 am »

ดูช้างที่"ป่ากุยบุรี" ซาฟารีแห่งอาเซียน



"ช้างควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องสร้างแหล่งอาหารให้กับช้างเพียงพอ การปฏิบัติต้องเข้าไปสร้างแหล่งอาหารภายในป่า เป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีที่ช้างออกมาชายป่าต้องให้ความปลอดภัยแก่เขา" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง "คนกับช้าง" เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ยังคงกึกก้องดังกังวานไปทั่วพื้นป่า "กุยบุรี"

ในวันที่แดดเช้าฉายแสงอ่อนโยน นานๆ ครั้งลมบางเบาโชยพัดมาต้องผิวกายให้ได้รู้สึก คาราวานรถตู้ราว 6 คัน แล่นเรียงแถวอย่างสวยงามออกจากรุงเทพฯมุ่งหน้าเข้าสู่ตัว อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

กุยบุรี เป็นอำเภอเล็กๆ ที่โอบล้อมด้วยทิวเขาน้อยใหญ่ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและสัตว์ป่า แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาชื่นชม สัมผัสบรรยากาศป]อดโปร่งโล่งสบายไม่ขาดสาย โดยเฉพาะที่ "อุทยานแห่งชาติกุยบุรี" ซึ่งกินพื้นที่ครอบคลุมถึง 4 อำเภอของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ อำเภอปราณบุรี อำเภอสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอเมือง

"อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีลักษณะเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแนวเขาตะนาวศรีติดกับชายแดนประเทศพม่า เป็นพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่มาก ทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำลำธารอันประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีคุณค่า เช่น พันธุ์ไม้และสัตว์ป่าที่หายาก จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมรดกแห่งชาติแห่งที่ 3 ของประเทศไทยรวมทั้งยังเป็นมรดกของอาเซียนอีกด้วย"

"จนวันนี้กุยบุรีได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น "ซาฟารีแห่งอาเซียน"

เราเดินทางออกจากกรุงเทพฯมาแต่เช้าตรู่ ถึงยังอุทยานแห่งชาติกุยบุรีตอนเที่ยงกว่าๆ แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว จากแสงแดดที่ทำมุมตรงหัวพอดี แต่เราก็สัมผัสได้ถึงความร่มรื่นของต้นไม้ที่ขึ้นเรียงรายล้อมรอบอุทยานฯ และเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติ เราเลือกพักในรีสอร์ทของอุทยานฯที่ตั้งอยู่กลางป่า เป็นบ้านไม้หลังใหญ่ ขนาด 2 ห้องนอน แต่ละห้องจุคนได้ถึง 8 คน ที่นี่ไม่ต้องพึ่งแอร์ มีแค่พัดลมกับลมธรรมชาติผสมกับกลิ่นไอชื้นของเทือกเขาตะนาวศรีก็สร้างความสดชื่นได้เพียงพอแล้ว



หลังจากที่แยกย้ายกันเข้าที่พัก เก็บข้าวเก็บของเรียบร้อยแล้ว เราทุกคนก็อยู่ในชุดเก่งพร้อมเตรียมออกเดินป่าเพื่อดู "ช้าง"

"ข้อปฏิบัติในการเข้าป่าที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมีอยู่ 3 ข้อหลักๆ คือ 1.ใส่เสื้อสีกลมกลืนธรรมชาติอย่าง เช่น สีเขียวเข้ม 2.ไม่ใช้แฟลชในการถ่ายภาพ 3.ไม่ส่งเสียงดัง (เพราะช้างนั้นหูดีมากๆ)"

การดูช้างในป่าทิศทางลมเป็นสิ่งสำคัญ ช้างให้ความสำคัญกับกลิ่นมาก ถ้าได้กลิ่นคน หรือกลิ่นแปลกปลอมเมื่อไหร่จะหนีไป หรือโชคร้ายอาจวิ่งเข้าใส่ทำร้ายคนได้ ดังนั้น คนนำทางจะต้องตรวจสอบทิศทางลมอยู่ตลอดเวลา

อย่างที่เห็นเจ้าหน้าที่นำทางทำให้ดูคือ การจุดไฟแช็กเช็คดูเปลวไฟ ถ้าเปลวไฟไม่เคลื่อนไหว แสดงว่าลมนิ่ง หรือเปลวไฟหันมาทางพวกเรา แสดงว่าลมพัดเข้าตัวบ่งบอกว่าอยู่ใต้ลม สามารถดูช้างต่อได้ แต่ถ้าเปลวไฟหันไปทางทิศที่มีช้างอยู่ แสดงว่า ลมพัดไปหาช้าง แสดงว่าอยู่เหนือลม ต้องรีบถอยออกมาเพราะช้างอาจมีปฏิกิริยาต่อกลิ่นคนได้

โดยพฤติกรรมของสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยอย่างช้าง ตามปกติจะออกหากินในตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนตอนกลางวันจะหลบแดดเข้าไปพักผ่อนในพุ่มไม้ ช่วงนี้ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดี ในการชมโดยเฉพาะในจุดที่เป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหารทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและอาหารที่มนุษย์สร้างขึ้น

เราเดินทางออกจากสำนักงานอุทยานฯ นั่งรถตู้ไปราว 17 กิโลเมตร มุ่งไปยัง "หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติกุยบุรี (ห้วยลึก)" แหล่งอาศัยของฝูงช้างป่าและกระทิงที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย เปลี่ยนจากรถตู้เป็นรถกระบะที่สามารถลุยป่าได้ จากนั้น เดินทางไปยัง "หน่วยพิทักษ์ กร.1 ป่ายาง" ซึ่งเปรียบเสมือนประตูสู่ป่ากว้างของขุนเขาแห่งนี้

เจ้าหน้าที่คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า กว่าที่ผืนป่าแห่งนี้จะกลายเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีความสำคัญระดับประเทศได้นั้น ต้องพบเจอกับอุปสรรคปัญหามากมาย หนึ่งในปัญหาใหญ่ คือเรื่องความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทุกวันนี้สัตว์ป่าสงวนในเมืองไทยเหลือน้อยลง เพราะว่าชาวบ้านรุกล้ำเข้าไปใช้พื้นที่อุทยานฯในการเพาะปลูกไร่สับปะรด และใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทำให้สัตว์ขาดแหล่งอาหาร จนต้องอพยพลงมากินพืชไร่ พืชสวนของชาวบ้านเพื่อประทังความหิว

"หากช้างพูดได้ เขาคงอยากบอกว่า ปู่ของเขา พ่อของเขา เดินลงมาหาอาหารบนผืนดินตรงนี้นานแล้ว"

ปัญหานี้ส่งผลรุนแรงถึงขนาดเมื่อ พ.ศ.2540 พบช้างป่าเพศผู้และเพศเมียคู่แรกเสียชีวิตพร้อมกัน หลังจากโดนวางยาเบื่อในสับปะรด หลังจากนั้น ปี 2541 และปี 2542 มีช้างตายเพิ่มอีก 11 ตัว บ้างโดนวางยาพิษ บ้างโดนยิงตาย ไม่ก็โดนจับเผานั่งยาง ไม่เว้นแม้แต่โดนวางตะปูเรือใบ คือ การเอาตะปูตอกกับไม้แล้วให้ช้างเหยียบ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความสะเทือนใจไปทั่วประเทศ จนกระทั่งความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัสในเรื่องคนกับช้างขึ้น เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2542 ปัญหาเรื่องคนกับช้างจึงเป็นข้อยุติ และเป็นปีเดียวกันกับที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีถือกำเนิดเกิดขึ้น

คาราวานรถกระบะจัดขบวนแถวเรียงหนึ่งเร่งเครื่องเข้าสู่ป่าเบื้องหน้า กระบะหลังมีการดัดแปลงเป็นที่นั่ง โดยเอาไม้เนื้อแข็ง 3 ท่อน ที่ถูกขัดเกลาอย่างดีมาวางพาด เพื่อให้นักท่องเที่ยวสัมผัสกับบรรยากาศและวิวทิวทัศน์แบบโอเพ่นแอร์ เคล้าคลอไปกับเสียงเจื้อยแจ้วของฝูงนกในยามเย็นตลอดเส้นทาง

นาทีนี้คำที่นายอำเภอกุยบุรีได้ยืนยันกับพวกเราว่า "หากมาที่กุยบุรี ทุกคนต้องได้เห็นช้างแน่นอน" ได้เกิดขึ้นแล้ว

เพราะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที วิทยุของเจ้าหน้าที่ก็ดังขึ้น ส่งข่าวบอกทุกคนว่า ตอนนี้เราเจอช้างแล้ว

ช้างสีดอ (ช้างเพศผู้ที่ไม่มีงา) ตัวหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการหาอาหารกินอยู่บนเชิงเขา ปรากฏอยู่ห่างจากจุดที่เรายืนอยู่ประมาณ 400 เมตร งวงของมันจับกิ่งไม้สะบัดไป-มาอย่างแข็งแรง นักท่องเที่ยวทุกคนต่างระดมกดชัตเตอร์ เพื่อเก็บนาทีประทับใจนี้ไว้

"จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่บอกกับคณะของเรา - อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีช้างป่าประมาณ 180-200 ตัว ที่มีช้างงา เป็นตัวผู้โตเต็มวัยมี 22 ตัว ช้างสีดอ (ไม่มีงา) มี 34 ตัว รวมแล้วมีครอบครัวช้างป่าอาศัยอยู่ทั้งหมด 21 ครอบครัว และในทุกๆ ปีจะมีลูกช้างรุ่นใหม่ ลืมตาดูโลกถึงปีละ 7-8 ตัว"

จากจุดที่เราเห็นช้างสีดอตัวแรก คาราวานรถกระบะได้เคลื่อนตัวเข้าไปในบริเวณป่าลึกมากขึ้น เพื่อค้นหาช้างตัวถัดไป เพียงไม่นานเราก็พบกับช้างสีดอและช้างตัวเมียกำลังหยอกเย้ากันอยู่ แต่เนื่องจากระยะค่อนข้างไกลมาก ทางเจ้าหน้าที่จึงได้พาเราลัดเลาะตามเนินเขา เพื่อจะได้เห็นช้างทั้งสองชัดเจนยิ่งขึ้นอีก และก็ไม่ผิดหวัง เพราะไม่นานต่อมาภาพช้างทั้งสองตัวก็ปรากฏอยู่ตรงหน้าในระยะที่ถ่ายรูปออกมาได้คมชัด

นอกช้างป่าแล้วอุทยานแห่งชาติกุยบุรียังเป็นแหล่งร่วมสัตว์ป่าอนุรักษ์ที่หายากนานาชนิด อาทิ เสือโคร่ง, วัวแดง, เก้งหม้อ, เสือไฟ, หมาใน, ชะมดแปลงลายแถบ, นกเงือกกรามช้างปากเรียบ, ไก่ฟ้าหน้าเขียว ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่อยู่ในวิกฤต อาจสูญพันธุ์ได้ รวมไปถึงพันธุ์พืช อย่างต้นจันทน์, ต้นยางนา, ต้นเหรียง, ต้นเปล้าน้อย, หวายตะค้าทอง, ต้นเอื้องวานิลลา เป็นต้น

กว่าครึ่งค่อนวันที่คณะของเราอยู่ในป่ากุยบุรี จนกระทั่งแสงสีทองของพระอาทิตย์ยามเย็นอาบไล้ เป็นสัญญาณว่าได้เวลาเดินทางกลับกันแล้ว

"คาราวานรถกระบะบ่ายหน้ากลับในเส้นทางเก่า ทิ้งผืนป่าเบื้องหลังที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ไว้ให้นักท่องเที่ยวคนต่อๆ ไปได้มาเยี่ยมชม"
บันทึกการเข้า

รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย 145.150 , 145.4125

ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนเวบไซค์ ThaiRayong.com
**สนใจป้ายโฆษณา ติดต่อจองเป็นผู้สนับสนุน โทร จำนวนจำกัด **

โรงงานผลิตจำหน่ายเสื้อคอกลม เสื้อโปโล งานปัก สกรีน งานด่วนสั่งได้ ราคาเป็นกันเอง 089-487-8789 tour rayong rayong resort rayong food



ข้อมูลติดต่อ ไทยระยองดอทคอม:
แผนที่ ที่พัก เที่ยว กิน ชอป คลิก https://www.thairayong.com
เราคือเพื่อนกัน...เพื่อนไทยระยองดอทคอม
thairayong.webmaster@gmail.com | www.facebook.com/thairayong
คำเตือน:โปรดระวัง! การซื้อ-ขายใดๆในนี้ ผู้เข้าชมติดต่อธุรกิจนั้นๆเอง ซึ่งเราไม่เกี่ยวข้องใดๆ
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  









เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!