ระยอง-เสม็ด:รวมกิจกรรม กีฬา งานบุญ งานอาสา ที่พัก ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจ ในระยองและทั่วไทย

รวมข่าวประชาสัมพันธ์ นักวิทยุสมัครเล่นฯ
สนับสนุนโดย

=> Amateur Radio สระบุรี => ข้อความที่เริ่มโดย: E20ZSY ที่ ธันวาคม 18, 2011, 07:14:28 pm



หัวข้อ: ทำอย่างไรไม่เป็น โรคตับแข็งจากโรคอ้วน
เริ่มหัวข้อโดย: E20ZSY ที่ ธันวาคม 18, 2011, 07:14:28 pm
ทำอย่างไรไม่เป็น โรคตับแข็งจากโรคอ้วน

โรคอ้วนอย่างเดียว ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคต่างๆ มากมาย อาทิ

1.ความดันโลหิตสูง
2.โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน
3.โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน

ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หลอดเลือดดำอุดตันที่ขา (และที่อื่นๆ) และลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดใหญ่ในปอดทำให้เสียชีวิตได้ทันที หลอดเลือดดำ โป่งพองที่ขา (varicose veins) โรคเบาหวาน ระดับไขมันในเลือด ผิดปกติ กระเพาะอาหารเลื่อนขึ้นไปอยู่ในทรวงอก (hiatus hernia) นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี มะเร็งที่เกี่ยวกับโรคอ้วน 7 ชนิด คือ มะเร็งของ ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เต้านม ต่อมลูกหมาก มดลูก ตับ ฯลฯ ตับอักเสบจากไขมันในตับ จนกระทั่งกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และแม้กระทั่งมะเร็งในตับ กรดยูริกในเลือดสูงทำให้เป็นโรคเกาต์ ฯลฯ

สาเหตุการเป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งของตับแล้ว คือมาจากโรคอ้วน จากพิษแอลกอฮอล์ จากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบซี วันนี้ขอให้ข้อมูลว่า เราจะป้องกันโรคตับอักเสบต่างๆ ตลอดจนการเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งของตับ จากโรคอ้วนได้อย่างไร?

จริงๆ แล้วไม่อ้วนอย่างเดียว ไม่ใช่ป้องกันเฉพาะโรคตับ ที่กล่าวเท่านั้น แต่ยังป้องกันสภาวะหรือโรคต่างๆ ที่กล่าวไว้อีกมากมายด้วย

เมื่อไหร่จึงจะเรียกว่าอ้วน! อ้วนก็คือมีไขมันมากเกินไป เมื่อไหร่จึงถือว่ามีไขมันมากเกิน ก็คือ เมื่อมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ และเมื่อไหร่จึงถือว่ามีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ ก็เมื่อดัชนีมวลกายหรือ body mass index, BMI, เกิน 23 (สำหรับคนไทยหรือเอเชีย แต่สำหรับชาวตะวันตกไม่เกิน 24.9)

BMI คือ น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรกำลังสอง นอกจากดู BMI ว่าน้ำหนักเกินหรือไม่แล้ว ยังควร ดูขนาดพุงด้วย พุงชายไทยไม่ควรใหญ่เกิน 90 ซม.
พุงหญิงไทยไม่ควรเกิน 80 ซม. ฉะนั้นการที่ไม่มีน้ำหนักตัวเกินคือ การที่ทำให้ BMI อยู่ต่ำกว่า 23
พุงชายเล็กกว่า 90 ซม.
พุงหญิงเล็กกว่า 80 ซม.
แต่ประเด็นมีอยู่ว่า ต้องให้ค่าทั้ง 2 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยการ ออกกำลังกายและควบคุมอาหาร ไม่ใช่อยู่ในเกณฑ์ปกติตามธรรมชาติ ถ้าเรายอมรับความจริง ดูพุงหรือวัดพุงอย่างเดียว ก็รู้ว่าอ้วน หรือไม่แล้ว พุงควรเล็กกว่าสะโพก ถ้าพุงยื่นออกมา ถือว่าอ้วนแล้ว ชาวตะวันตกมักมีโครงร่างใหญ่ หรือถ้าอ้วน จะอ้วนทั้งตัว แต่คนไทย เอเชียมักมีรูปร่างบาง ไม่หนา จึงดูไม่ค่อยอ้วน แต่เป็นภาพลวงตา เพราะคนไทยจะอ้วนที่พุง มีความหมายในทางที่ไม่ดีเช่นกัน อ้วนที่ไหนก็ไม่ร้ายเท่าอ้วนที่พุง อ้วนที่พุงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรค metabolic syndrome ฯลฯ

ในวัยเยาว์ เด็ก หรือตอนเริ่มเป็นผู้ใหญ่ คนเรามักรูปร่างผอมบาง ไม่อ้วน(ส่วนใหญ่) แต่พอสูงอายุ มักอ้วนขึ้น เพราะเป็นที่ทราบดีในวงการแพทย์ว่า เมื่ออายุมากขึ้น อัตราการเผาผลาญของ ร่างกายจะลดลง ทำให้ผู้อายุเกิน 40 ปีโดยประมาณ ถ้าทานอาหารเท่าเดิม ออกกำลังกายเท่าเดิม จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ ปีละ 1/2 กก. ฉะนั้นถ้าสูงอายุและต้องการไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ต้องทานน้อยลง หรือออกกำลังกายมากขึ้น หรือทำทั้ง 2 อย่าง
การทานอาหารสำหรับการควบคุมน้ำหนักตัวและป้องกันโรค หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคอ้วน การคุมอาหารควรทำควบคู่กับการออกกำลังกาย เพราะถ้าคุมอาหารอย่างเดียว จะลดทั้งไขมันและกล้ามเนื้อ หลักการของ การลดน้ำหนักคือ ต้องลดไขมันเท่านั้น ถ้าคุมอาหารอย่างเดียว อาจ ทำให้ผอมก็จริง แต่กล้ามเนื้ออาจลีบ ดูไม่แข็งแรง

ทั้งนี้การคุมอาหารอย่างเดียวจะลดน้ำหนักได้ช้ากว่า การคุมอาหารและออกกำลังกายพร้อมกันไป