
งานที่จะอาจทำต่อไปได้เพื่อการเตรียมป้องกันภัยพิบัติาภาพรวมและแต่ละพื้นที่

สมมติฐานตอนนี้คือ เริ่มมีการตื่นตัวในการจัดการภัยพิบัติหากแต่การเตรียมป้องกันภัยพิบัติจริงในระดับพื้นที่ยังมีไม่มากนัก
จากการประชุมใน-นอกรอบ ระดมความเห็นจากเพื่อนพี่น้องเครือข่ายจิตอาสาเขียนหน้างานออกมา เป็นข้อๆ ใครทำอะไรแล้วหรือคิดว่าน่าจะทำอะไรเพิ่ม บอกเล่ากันนะคะ
1. ประสานจัดการ
เรียนรู้กันว่าการรวมศูนย์มีปัญหาในการจัดการภัยพิบัติ ๑. แยกกันทำบางส่วน ๒.จับมือกันบางส่วน ๓.อาจมีหน่วยงานทำในบางเรื่องที่ต้องต่อเนื่อง ประสานกันหลายเครือข่ายก็ได้ สำคัญคือเริ่มจากจุดแข็งที่เราแต่ละคนทำได้ ยังมีงานจัดการให้อาสาทำกันได้ เช่น
Communication Tree ต้นไม้สื่อสาร (เตรียมไว้สำหรับช่วงเวลาวิกฤต) ในแต่ละพื้นที่ ใครทำอะไร ฉุกเฉินขึ้นมาเรื่องนั้นๆติดต่อใคร ในแต่ละภาคีที่เกี่ยวข้อง อาจเปิดเวทีให้พบกันก่อนวิกฤต
งาน Node Mapping (สำหรับเวลาปกติ) ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไรมีอะไรอยู่ในมือ (resource) --ควรทำเรื่อยๆ เพื่อให้แต่ละคนเดินร่วมกันได้ไม่ชนกัน เห็นว่าเพื่อนอยู่จุดไหนของกระบวนกองหน้ากองหลัง จะเชื่อมกันได้อย่างไร จะทำอะไรต่อ
สื่อสาร เชื่อมต่อ ป้อนข้อมูล เช่น ภาพรวม เรามี facebook group: เตรียมป้องกันภัยพิบัติ ในแต่ละพื้นที่
ในช่วงวิกฤตต้องการคนเชื่อมประสานกับทุกหน่วยทั้งรัฐ เอกชน บนล่าง ผู้ให้ทุน ผู้รับทุน ผู้ประสบภัย จุดสำคัญที่ใช้ความเป็นเพื่อน ความนับถือ เชื่อใจกัน ฟังกัน
2. สื่อสาร
2.1 เพื่อการเตรียมรับภัยพิบัติ
เพื่อกระตุ้นความตระหนักรู้ของสังคม เป็นทางตรงแก่ประชาชนทั่วๆไปและทางอ้อมช่วยหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการภัยพิบัติอยู่แล้วทำงานง่ายขึ้น
ตรงกับชุมชนชาวบ้าน: โดยทีม NGO/ คนทำงานในพื้นที่ โดยอาสาสมัคร (ด้วยการดูแลของคนทำงาน) ฯลฯ
การสื่อสารกับคนเมือง: สื่อสารมวลชน ผู้นำท้องถิ่นนั้นๆ, Forum: ให้ความรู้และกระตุ้นการเตรียมรับภัย
สื่อสารกับคนทั่วไป: ถ้าได้โฆษณาเด็ดเหมือน ready.com ทำก็เยี่ยมเลย
2.2 เพื่อความเข้าใจของการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างยั่งยืนต่อสังคมที่ยังเกิดการให้ที่มีประสิทธิภาพต่ำอยู่
3. วิชาการงานความรู้
น่าจะมีองค์กรที่ทำเรื่องจัดการความรู้เพื่อรับกับการจัดการภัยพิบัติ ระยะยาว สร้างความรู้แล้วค่อยสร้างความเคลื่อนไหว และตัวเชื่อม มีหลายองค์กรที่จะมาต่อ แต่ไม่ขึ้นต่อ
3.1 การเตรียมป้องกันภัยพิบัติระดับบุคคลของแต่ละพื้นที่
3.2 การเตรียมป้องกันภัยพิบัติระดับบุคคล
ความรู้การเตือนภัยพิบัติ
การสร้างจิตสำนึกตั้งแต่เด็กในโรงเรียน
3.3 Capacity building ยกระดับความรู้คนทำงานอย่างต่อเนื่อง อาจทำถึงระดับภูมิภาคกับกรมอาเซียน
3.4 การถอดบทเรียนต่างๆ จากพื้นที่ขึ้นมา
4.หนุนเสริม
การกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบอยู่ทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น โปร่งใสขึ้น
การเสริมหนุนคนทำงานในพื้นที่ให้อย่างน้อยมีกิน
ประเด็นข้อเสนอสู่รัฐบาล
5. ระดมทุน
รูปแบบต่างๆ เช่น การจัดอีเวนท์ ผ้าป่าน้ำท่วม ผ้าป่าวิทยุสื่อสารในหมู่บ้าน ฯลฯ
6. อาสาสมัครที่มีจิตอาสา
เชื่อมต่ออาสาสมัครทั่วไปกับงานเตรียมป้องกันภัยพิบัติของชุมชน เช่น งานเก็บข้อมูลกายภาพของพื้นที่ การระบุภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ การกระตุ้นให้ข้อมูลองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการเตรียมป้องกันฯ สร้างต้นไม้สื่อสาร (Communication tree)
ยกระดับอาสาสมัครให้ลงลึกถึง จิตอาสา ตั้งแต่การเสียสละสิ่งของ แรงงาน ...การมีจิตใจช่วยเหลือสังคม (ต่อถึงประชาสังคม) ...จนกระทั่งเสียสละอัตตาก้าวข้ามความเป็นตัวตน --> งานบำเพ็ญบุญรูปแบบใหม่ เช่น อาสาทำวัดสะอาด
ยกระดับอาสาสมัครใจดีให้เห็นประเด็นการพัฒนาสังคมใน ระยะยาว ทราบผลเสียของการให้ระยะสั้น (เช่น ชุมชนได้เงินมาตีกันแทน, การให้ในช่วงวิกฤตเป็นเครื่องมือที่ดีในการก่อและพัฒนาชุมชนต่อไป)
7. ระบบฐานข้อมูล